วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทินครังที่12
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เวลา 08.30-12.20 น.


**กิจกรรมวันนี้ **อาจารย์อธิบายแผนการสอนกับกลุ่มที่จะต้องออกมานำเสนอการสอนของแต่ละกลุ่มกลุ่มของดิฉันเสนอวันที่ 5เรื่องการถนอมอาหารจากกล้วย 

การจัดเรียงแผนการสอน 
1.กรอบมาตรฐาน
2.สาระการเรียนรู้
3.แนวคิด
4.เนื้อหา
5.ประสบการณ์สำคัญ
6.บูรณาการ
7.กิจกรรมหลัก
8.วัตถุประสงค์
กลุ่มที่ 1 สอนหน่วยข้าว กิจกรรมวันที่5 การประกอบอาหารจากข้าว (การทำชูซิจากข้าว )




กลุ่มที่ 2สอนหน่วยไข่ กิจกรรมวันที่5 การประกอบอาหาร การทำไข่เจียวไข่



กลุ่มที่ 3 สอนหน่วยเรื่องกล้วย กิจกรรมวันที่ 5การถนอมอาหารจากกล้วย (การทำกล้วยฉาบ)





กลุ่มที่ 4 สอนหน่อยเรื่องกบ กิจกรรมวันที่4 วัฎจักรของกบ 

**ทุกกลุ่มในวันนี้ได้ถูกอาจารย์ให้ไปแก้ไขเพิ่มเติมให้ดีขึ้นแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป**

การนำไปประยุกต์ใช้ 
นำข้อเสนอแนะข้ออาจารย์ไปปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมและนำสิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคตต่อไปในการสอนทั้งเรื่องการเรียนและประสบการณ์จริงๆที่จะเจอต่อไปเพราะนี้เป็นแค่พื้นฐานของการจัดประสบการณ์แค่เริ่มต้น

ประเมินตนเอง 
วันนี้กลุ่มของพวกเราและดิฉันเองก็ในการเตรียมตัวสอนก็ไม่พร้อมเท่าที่ควรและการสอนก็ยังมีการสะดุงอยู่บ้างดิฉันรู้ตัวเองดีว่าควรนำสิ่งใดไปปรับปรุงแก้ไขในคำที่อาจารย์แนะนำมาให้ดีขึ้นกว่าเดิม

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆในห้องก็ให้ความร่วมมือในการร่วมทำกิจกรรมเป็นอย่างดีแต่ก็มีบางส่วนที่ไม่ให้ความร่วมมือกลุ่มเพื่อนๆๆที่ออกไปนำเสนอก็มีข้อผิดพลาดพอสมควรและพร้อมจะนำสิ่งที่อาจารย์บอกไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น 

ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มีเทคนิคการสอนและให้คะแนะนำกับนักศึกษาเพิ่มเติมมากมายทั้งกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอและกลุ่มที่นำเสนอบอกสิ่งต่างๆที่จะนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น









วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครังที่11
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 28  ตุลาคม พ.ศ. 2557
เวลา 08.30-12.20 น.

กิจกรรมวันนี้
อาจารย์นำสิ่งของมาให้นักศึกษาได้ทดลองกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.เทียน ไม้ขีดไฟ  แก้วน้ำ ถ้วย





2.การพับกระดาษ
1.นำกระดาา A4 มาพับเป็น4ส่วน จากนั้นพับกระดาษสร่เหลี่ยมเป็นสี่ทบแล้วชีกให้โค้งเป็นรูปดอกไม้
-จากนั้นนำไปใส่ในน้ำกระดาษก็จะคลี่เป็นคลี่เป็นรูปดอกไม้
เนื่องจากนำซึมเข้าไปในกระดาษกระดาษจึงมีการคลายรูปออกมาเป็นรูปตามรอยที่เราฉีกไว้ตอนแรก






กิจกรรมที่3จากนั้นอาจารย์ก็นำขวดน้ำมาเจาะรู เทน้ำลงไปในขวด ถ้าเราปิดฝากน้ำก็จะหยุดไหลแต่ถ้าเราเปิดฝากขวดน้ำน้ำก็ไหลออกมา

กิจกรรมที่4 อาจารย์ให้ปั่นดินน้ำมันเป็นรุปอะไรก็ด้ตามใจตัวเองแต่มีหลักเกฑณ์อยู่ว่าทำอย่างไรก็ได้ให้ดินน้ำมันลอบได้ แต่ในที่นี่ถ้าจะทำให้ดินน้ำมันลอยได้เราต้องทำให้เป็นแบนๆให้สมส่วนกันแต่ก็ลอยได้เพียงชั่วครู่เท่านั้น





กิจกรรมที่5 น้ำขวดน้ำมาต่อกับสายยาง การทดลองถ้าเราว่างขวดน้ำกับสายยางในระดับที่เท่ากันน้ำก็จะพุงออกมา แต่ถ้าเราว่างขวดน้ำไว้ที่สูงและเอาสายยางไว้ที่ต่ำน้ำที่อยู่ในขวดก็จะไหลลงสู้่ที่ต่ำเสมอและทำให้น้ำพุงขึ้นสูงกว่าเดิมเหมือนน้ำพุไหล


อ้างอิงภาพจากนางสาวอุมาพร   ปกติ

กิจกรรมที่ 6 การเทวัตถุลงไปในน้ำก่อนที่จะนำวัตถุลงไปในน้ำน้ำก็จะมีปฎิกิริยาที่ปกติ
ถ้าถ้าเรานำวัตถุลงไปจะให้ทำวัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้วัตถุที่อยู่ในน้ำมัวัตถุที่ใหญ่ขึ้นกว่าปกติ




การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถเอาการทดลองที่อาจารย์ไปสอบวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลองลองกับเราได้เพราะว่าเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและหาง่ายและแปลกใหม่จากสิ่งที่เคยเรียนมาในมัธยมแต่ว่าใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เดียวกัน

ประเมินตนเอง

ในวันนี้ก็มีคาวมพร้อมในการเรียนและสนใจในสิ่งที่อาจารย์สอนและถ่ายทอดให้เป็นอย่างดีแต่อาจมีไม่สนสนอยู่บ้างบางขณะแต่จะนำเอาสิ่งที่อาจารย์สอนไปพัฒนาต่อยอดในการสอนเด็กให้ดีขึ้นและพัฒนาตนเองไปด้วย

ประเมินเพื่อน 

วันนี้เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการสอนเป็นอย่างดีเพราะว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจและทำให้สนุกสนานหัวเราะเรยทำให้เพื่อนสนใจมากยิ่งขึ้นเพราะทำให้ไม่น่าเบื่อเพราะว่าได้ลงมือปฎิบัติจริง

ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์เตรียมสื่อการเรียนดการสอนและอุปกรณ์ในการทดลองมาเป็นอย่างดีเป็นแบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษาในวันข้างหน้าเพราะว่าการเป็นครูที่ดีต้องมีการเตรียมพร้อมและกระตื้อรื้อรื้นอยู่เสมอสำหรับการสอนและการเรียนรู้ของนักเรียนสิ่งที่อาจารย์ทำสามารถนำไปเป็นแบบอย่างได้เพราะเป็นสิ่งที่ดีและในวันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อเพราะได้ลงมือทำจริง









บันทึกอนุทินครังที่10
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 21  ตุลาคม พ.ศ. 2557
เวลา 08.30-12.20 น.

กิจกรรมวันนี้
อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่นำเสนอสิ่งประดิษฐิ์ออกมานำเสนอให้ครบ วันนี้ดิฉันนำเสนอ "กระดาษส่งเสียง"หลักการวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นคือการที่อากาศเข้าไปแทนที่ในช่องว่างทำให้มีแรงดันในอากาศทำให้การเหวียงของแรงในกระดาษเกิดแรงทำให้กระดาษเกิดเมท่อกระดาษไปกระทบกับกระดาษแล้วทำให้กระดาษเกิดเสียงขึ้น
 เสียงเกิดจาก ลมผ่านออกมากระทบกับกระดาษ  จึงทำให้กระดาษเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น   เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของกระดาษเป็นเสียงที่ไม่มีความหมาย ลักษณะเสียงคล้ายกับเสียงปีเสียงจะดังหรือเบา ขึ้นอยู่ที่ความแรงของลมที่บังคับออกมา เสียงจะหนาหรือบาง ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปร่างของกระดาษรวมทั้งการเปิดของช่องกระดาษ 

"ของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉัน"






จากนั้นอาจารย์สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์



เทคนิคการสอนของอาจารย์
 อาจารย์บอกข้อดีและข้อเสียและข้อปรับปรุงแก้ไขของเล่นของแต่ละคนว่าดีและควรไปแก้ไข้เพิ่มเติมอย่างไรบ้างไปทำอะไรมาอีกและอาจารย์ก็ถามเกี่ยวกับของเล่นของแต่ละคนว่าใช้เกณฑ์อะไรและหลักการใดทางวิทยาศาสตร์สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่ดีเพราะว่านักศึกษาจะได้รู้และจำหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้ดีขึ้นทั้งหลักการของเสียง หลักการของอากาศ หลักการของการเกิดเสียง หลักการของแรงผลักและอีกหลายๆๆอย่างทำให้จำและได้ความรู้เพิ่มขึ้นเพราะเป็นสิ่งที่ดีและสำคัญเพราะจะต้องรู้ไว้และได้ใช้งานจริงในการเรียนในอนาคตหรือการไปสอนจริงๆเรื่องวิทยาศสตร์ของเด็ก

ประเมินตนเอง 

ในวันนี้สำหรับตัวฉันก็เตรียมของเล่นมาไม่ค่อยดีเพราะว่าไม่ได้ประดิษฐฺ์อะไรเลยอาจารย์ก็บอกให้ไปแก้ไขเพิ่มเติมให้ดีขึ้นกว่าเดิมและตั้งใจเรียนตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอนเป็นอย่างและรับสิ่งที่อาจารย์ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆให้ในห้องเพราะทุกสิ่งที่อาจารย์มีประโยชน์ทั้งนั้น
ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจฟังและตั้งใจเรียนกันพอสมควรเพราะว่าบางคนก็เล่นโทรศัพท์คุยกันบางไม่ยอมฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์

อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีทั้งสื่อและตัวของอาจารย์เองอาจารย์ให้ความรู้ต่างๆมากมายทั้งหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ตัวอย่างสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์มากมายที่บางที่เราอาจคาดไม่ถึงว่าบางอย่างที่อยู่ใกล้ตัวก็สามารถนำมาเป็นสื่อสำหรับวิทยาศสตร์ได้เช่นแผ่นซีดีเพราะเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึงแต่อาจารย์คิดได้ไกลกว่านักศึกษา





วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

 
 
บันทึกอนุทินครังที่9
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 14  ตุลาคม พ.ศ. 2557
เวลา 08.30-12.20 น.
 
 
กิจกรรมวันนี้  
 
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นเกี่ยวกับวิทยาสาสตร์ของแต่ละคน  วันนี้ดิฉันไม่ไ้ด้เตรียมของเล่นมาเลยไม่ได้นำเสนอ  แต่อาจารย์ก็ยังให้โอกาศให้มานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป แล้วเอาข้อบกพร่องของเพื่อนไปปรับปรุงแล้วทำให้ดีกว่าของเพื่อน 
 
 
สิ่งประดิษฐ์ของเพื่อน










































เทคนิคการสอน

อาจารย์ร่วมกันสนทนากับนักศึกษามีการถามคำถามปลายเปิดให้นักศึกษาได้คิดแสดงความคิดเห็นแม้จะถุูกหรือผิดอาจารย์ก็ไม่ปิดกั้นความคิดของนักศึกษาแค่บอกแนวทางและวิธีการแก้ไขแล้วนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น



ประเมินตอนเอง 

 ตั้งใจฟังอาจารย์ให้ความรู้แล้วก็ตั้งใจฟังเพื่อนๆที่ออกมานำเสนอทุกคนเพื่อนจะได้นำไปปรับใช้กับของเล่นของตัวเอง
 
ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆทุกคนเตรียมของเล่นมาพร้อมอย่างตังใจและฟังความคิดเห็นของซึ่งกันและกัน 

 ประเมินอาจารย์ 

อาจารย์เตียมการสอนมาเป็นอย่างดีแล้วให้ความรู้และแนวคิดมากมายให้กับนักศึกษาไปปรับปรุงแก้ไข



























 
 
 
 
บันทึกอนุทินครังที่8
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  7 ตุลาคม  พ.ศ. 2557
เวลา 08.30-12.20 น.







**ไม่มีการเรียนการสอน  สอบกลางภาค 




บันทึกอนุทินครังที่7
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 30  กันยายน  พ.ศ. 2557
เวลา 08.30-12.20 น.
 กิจกรรมในวันนี้ 
     
       กิจกรรมที่ 1 ลูกบอลยาง 
อุปกรณ์ 
1.กระดาษหน้าปก (Paper)
2.กรรไกร (Scissors)
3.คลิปหนีบกระดาษ (Paperclip)


ขั้นตอนการประดิษฐ์
1.นำกระดาษที่ได้มาพับครึ่งแล้วนำกรรไกรมาตัดเป็นแนวตรงยาวใช้ชิดกับรอยพับครึ่งกระดาษ
2.พับแนวบนของกระดาษเข้ามา 1 เซนติเมตร 
3.นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว่ส่นบนที่พับเข้ามา จากนั้นกางปีนส่วนที่โดนตัดออกไปคนละข้างกัน 
4.นำมาทดลองเล่น โดยการดยนและทำให้กระดาษหมุน 


อาจารย์ให้เพื่อนออกไปสาธิตการโยนของแต่ละคนให้ดู จะสังเกตได้ว่าการหมุนของกระดาษแต่ละคนลงมาสู้พื้นไม่เหมือนกัน 





**อ้างอิงภาพมาจาก นางสาว นิตยา ใยคง เลขที่ 23
 กิจกรรมที่ 2  แกนกระดาษทิชชู
อุปกรณ์
1.แกนกระดาษทิชชู 
2.กระดาษตัดเป็นรูปวงกลม
3.ไหมพรม 
4.กาว
5.กรรไกร
6.สี
7.ที่หนีปกระดาษเป็นรู 
ขั้นตอนการประดิษฐ์
1.นำแกนกระดาษทิชชูมาตัดครึ่งแล้วนำที่หนีปกระดาษมาเจาะรูสองข้างให้เท่ากันจะได้ออกมา 4 รู 
2.นำกระดาษวงกลมมาแปะตรงแกนกระดาษทิชชู วาดรูปตามจินตนการของตัวเองให้สวยงาม
3.นำไหมพรมมาร้อยกับแกนกระดาษทิชชูให้สามารถห้อยคอเราได้
4.จากนั้นก็นำมาเล่น ทำยังไงให้แกนกระดาษทิชชูเลื่อนขึ้น-ลง ไปมาได้ 




เพื่อนนำเสนอบทความ 5 คน 16-20

 เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์ให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดอย่างอิสระ ให้นักศึกษาคิดเองว่าจะทำอย่างไรให้สิ่งของเหล่านี้เคลื่อนที่ไ้ด้เอง ให้สังเกตและลงมือปฏิบัติ ลงมือทำเอง อาจารย์จะค่อยช่วยเหลืออยู่ห่างๆถ้าไม่เข้าใจก็ให้มาถามแต่จะไม่บอกวิธีการเล่นจะให้นักศึกษาคิดเอง

การนำไปประยุกติใช้

สามารถนำเอาสิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้สอนกับเด็กได้จริง เพราะว่าเป็นสิ่งที่เด้กสามารถทำเองไ้ด้และเป็นวัสดุุุที่หาง่ายและอยู่ใกล้ตัวเด็กและเด็กยังได้ใช้ความคิดและเกิดการเรียนรู้ในตัวเองเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ประเมินตนเอง -

ประเมินเพื่อน - 

ประเมินอาจารย์ - 
  
หมายเหตุ เนื่องจากสัปดาห์นี้ไม่ได้มาเรียน ลาป่วยไม่สบาย เลยอ่านข้อมูลของเพื่อนแล้วนำมาเป็นความคิดของตัวเองบ้างบางส่วน  


**นำข้อมูลมจาก  นางสาวสรวงกมล   สุเทวี   เลขที่ 20 





บันทึกอนุทินครังที่6
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 23  กันยายน  พ.ศ. 2557
เวลา 08.30-12.20 น.
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีการสร้างความรู้ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวข้องกับเด้กปฐมวัย อย่างไร ?  และเพื่อนออกมานำเสนอบทความ 
 
 









กิจกรรมที่ทำในวันนี้ 
อาจารย์มีกระดาษมาให้เป็นรูปนกกับผีเสื้อ ให้นักศึกษาเลือกคนละ 1 รูป จากนั้นตััดตามภาพ แล้วกระดาษที่เหลือมาดัดแปลงทำให้เป็นรุปที่สอดคล้องกัน
 



 
กิจกรรมต่อมาอาจารย์นำตัวอย่างของการสังเกตของแสง โดยทำจากแกนกระดาษทิชชู่ มาให้นักศึกษาแต่ละคนดูซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาประดิษฐ์ขึ้นเองได้และสอนให้เด็กปฐมวัยทำเองได้อีกด้วยเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย





       อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 5 คนแล้วทำ Mind Map กลุ่ม ชองดิฉันทำเรื่อง กล้วย 

 



การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์นำมาให้ทำและดูไปใช้สอนเด็กปฐมวัยได้จริงเพราะเป็นสิ่งที่เด็กสามารถทำเองได้และยังสอนเรื่องการนำการนำวัสดุที่เหลือใช้มาใช้ประโยชน์ได้เด็กก็จะได้เรื่องการพอเพียง


ประเมินตนเอง 
 
แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบเข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอน 
 
ประเมินเพิ่อน 
 
เพื่อนตั้งฟังที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดีบางคนแต่บางคนก็มีเล่นมีคุยกัยกันบ้างบางคนเท่านั้น
 
ประเมินอาจารย์ 
 
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เตรียมสื่อการสอนมาให้นักศึกษาทำอย่างครบถ้วนทุกคนไม่มีนักศึกษาคนไหนไม่ได้ทำเลยสักคน


บันทึกอนุทินครังที่5
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 16  กันยายน  พ.ศ. 2557
เวลา 08.30-12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ 

อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม  ให้นักศึกษาดู CD เรื่องความลับของแสง และสรุปเนื้อหา
   


ความลับของแสง
ถ้าไม่มีแสงคนเราก็จะมองอะไรไม่เห็นในเวลาไฟดับจะสังเกตได้ว่าสายตาของเราจะค่อยๆปรับแสงให้เข้ากับความมืด พอไฟมาจะยังคงพร่ามัวเราต้องรอให้สายตาปรับสมดุลก่อนจากนั้นจะมองได้ชัดเอง
แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง แสงเคลื่อนที่ได้เร็วมาก300,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

การทดลอง
นำกล่องมาเจาะรูแล้วนำวัตถุมาใส่ลงไปในกล่อง  จากนั้นปิดฝากกล่อง เราสังเกตได้ว่าในกล่องมืดมากเรามองวัตถุข้างในกล่องไม่เห็น จากนั้นเราเจาะฝากกล่องอีก 1 รู ปิดฝากกล่อง แล้วนำไฟฉายมาส่องในรูปให้กระทบกับวัตถุจะเห็นได้่าเรามองเห็นได้ชัดเจน 
สรุปได้ว่า แสงต้องมีการสะท้อนของวัตถุมายังสายตาเราจึงสามารถมองเห็นวัตถุสิ่งของนั้น


วัััตถุต่างๆในโลก มี 3 ชนิด วัตถุโปร่งแสง  วัตถุโปร่งใส    วัตถุทึบแสง

การหักเหของแสง(Refraction of light) แสงจะเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่เพราะแสงเดินผ่านวัตถุตัวกลาง เช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนที่ช้ากว่าอากาศเส้นของแสงก็จะหักเห
ตอนฝนตกเราก็จะเห็นรุ้งกินน้ำเพราะรุ้งกินน้ำเกิดจากการหักเหของแสง

เงา (Shadow) เป็นสิ่งที่คู่กันของแสงเสมอ เงาเกิดขึ้นได้เพราะแสง เงาของวัตถุจะเกิดขึ้นจากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ

การนำไปประยุกต์ใช้
 สามารถนำ วีดีโอเรื่องความลับของแสงไปใช้สอนเด้กปฐมวัยได้จริงเด็กจะได้รู้เกี่ยวการเกินทางของแสงการโปร่งแสง การทึบแสง การของเงาที่มีแสงมากระทบถึงจะเกิดเงาได้ ซึ่งทดลองสามารถทำได้จริง

การประเมิน

ประเมินตนเอง  

ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบมายอย่างเต็มที่อาจจะช้าไปหน่อยสำหรับการดูความลับของแสง

ประเมินเพื่อน 

เพื่อนๆตั้งฟังที่อาจารย์มอบหมายงานแล้วกลับไปทำทุกคน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์สั่งงานไว้ให้ทำเพราะอาจารย์ติดธุระราชการ

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่9 กันยายน 2557 ครั้งที่1 กลุ่ม 103
เวลาเรียน 8:30 - 12.20 น.

ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
- การนำเสนอบทความของนักศึกษา 5 บทความ
1.จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบของเล่นวทยาศาสตร์
2.ทำอย่างไรไม่ให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์
3.วิทย์-คณิต สำหรับเด็กปฐมวัย ต่ออนาคตของชาติ
4.เมื่อลูกน้อยเรียนวิทย์-คณิต จากเสียงดนตรีบูรณาการ กิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
5.การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของวิทยาศาสตร์
                 วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและการจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อบ่างมีแบบแผน มีขอบเขตโดยอสศัยหลักการสังเกต การทดลองเพื่อค้นคว้า ความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
         -การเปลี่ยนแปลง 
         -ความแตกต่าง
         -การปรับตัว
         -การพึ่งพาอาศัย
         -ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
 1.ขั้นกำหนดปัญหา
 2.ขั้นตั้งสมมุติฐาน
 3.รวบรวมข้อมูล
 4.ขั้นลงข้อสรุป

การนำไปประยุกต์ใช้
        สามารถใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ปรับเข้าสู่การเรียนการสอนในด้านอื่นๆได้ ได้รู้ถึงการกำหนดปัญหา  ทักษะต่างๆเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทำให้เราก้าวทันโลก และเข้าใจในสิ่งต่างได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ชัดเจน  ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์
การประเมินตนเอง
     -เข้าเรียนตรงเวลา
     -แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
     -ตั้งใจจดบันทึกเนื้อหาความรู้ที่อาจารย์มอบให้  
การประเมินผู้สอน
     -อาจารย์แต่งกาย เรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา
    -อาจารย์มีเนื้อหาใหม่ๆมาสอน น่าสนใจ  ก้าวทันโลก
    -อาจารย์มีการให้โอกาสสำหรับคนที่ตอบคำถามผิดให้มีโอกาสได้แก้ตัว

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่2 กันยายน 2557 ครั้งที่1 กลุ่ม 103
เวลาเรียน 8:30 - 12.20 น.


กิจกรรมวันนี้
อาจารย์เปิดบล้อคให้ดู และให้คำแนะนำการทำบล้อคและรู้จกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์

อาจารย์ได้อธิบายคุณลักษณะตามวัยของเด็ก3-5ปีที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546



ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย


การนำไปประยุกต์ใช้
-นำทฤษฎีแต่ละทฤษฎีที่ได้ใช้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเพื่อให้การพัฒนามีประสิทธิภาพต่อการ-พัฒนาของเด็ก

         ประเมินตนเอง
         -แต่กายเรียบร้อย 
         -ตั้งใจฟังอาจารย์ให้ความรู้
         -จดบันทึกเพิ่มเติม
        ประเมินเพื่อน
         -วันนี้เพื่อนๆทุกคนแต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ
        ประเมินอาจารย์
         -อาจารย์สอนโดยยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน
         -อาจารย์แต่งกายได้สุภาพเรียบร้อย สวยงาม

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่26 สิงหาคม 2557 ครั้งที่1 กลุ่ม 103
เวลาเรียน 8:30 - 12.20 น.



                                                                               กิจกรรมวันนี้
           เมื่อเราพูดถึงเด็กปฐมวัยนึกถึงอะไร ?
           1.การเล่น
           2.ขี้สงสัย
           3.ประสบการณ์
           4.การอบรมเลี้ยงดู
           5.ความสนุกสนาน
           6.การเจริญเติบโต
           7.การเรียนรู้
           8.การมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อน

พัฒนาการคือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางด้านร่างกาย อามรณ์ สังคม สติปัญญา ภาษา แบ่งได้ดังนี้
        1.ความคิด
      1.1 เชิงเหตุผล
       -คณิศาสตร์
       -วิทยาศาสตร์
     1.2เชิงสร้างสรรค์
        2.การใช้ภาษา

การเปลี่ยนแปลงพฤติกกรม+ผู้ที่ผ่านเรียนรู้มาแล้ว เพื่อเอาตัวรอดได้
     ด้านสติปัญญา  เพียเจย์+บรูเนอร์
     ด้านอารมณ์ ฟรอยด์+ออซุเบล
     ด้านสังคม  อิริสัน
     ด้านร่างกาย  กีเซล

การนำประยุกต์ใช้
สามารถขำวิธีสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โดยการบรรยายและการใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการคิดและการเรียนรู้

ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย
-ตั้งใจฟังอาจรย์อธิายแนวการสอน
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายแนวการสอนเป็นอย่างดี
-มีซักถามโต้ตอบอาจรย์
ประเมินอาจารย์
-แต่งกายสวยงามเหมาะสม
-น่าตาสดชื่น
-อาจรย์อธิบายการสอนอย่างละเอียดโดยน.ศเข้าใจง่าย

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกกิจกรรมที่ 1

บันทึกอนุทินครั้งที่  1
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่  19  สิงหาคม  พ.ศ. 2557
เวลา  8.30 -  12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ
  อาจารย์แจกแนวการเรียนการสอน บอกข้อตกลงในการเรียนในห้องเรียนว่าควรแต่งการให้เรียบร้อย ไม่มาสาย 

ผลลัพท์การเรียนรู้
1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
2.ด้านความรู้
3.ด้านทักษะทางปัญญา
4.ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6.ด้านการจัดการเรียนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
  นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ประเมินตนเอง
  วันนี่แต่งตัวเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์  

ประเมินเพื่อน
  เพื่อนมีความตั้งใจฟังอาจารย์ได้ดี  แต่งตัวเรียบร้อย

ประเมินอาจารย์
  อาจารย์มีความพร้อมในการสอน มีสื่อมาให้นักศึกษาได้ดู